วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและ Social Network

ปัจจุบันการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์อย่างมาก จึงทำให้การใช้งานเป็นไปอย่างแพร่หลาย บุคคลที่ใช้อินเทอร์เน็ตจึงมีหลายจุดประสงค์ ทั้งใช้งานในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และการใช้งานที่เป็นผลร้ายต่อบุคคลอื่น ดังนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้ทำการแปลและเรียบเรียงวิธีการใช้งาน อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น สำหรับผู้ที่เริ่มใช้งาน เพื่อจะได้ปลอดภัย จากภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ต
1. เมื่อเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ควรปรึกษาผู้ใหญ่เกี่ยวกับแนวทางในการใช้ในการใช้อินเทอร์เน็ตต่อวัน และเมื่อผู้ใช้มีความรู้ และคุ้นเคยในการใช้งานจริงบ้างแล้ว จึงค่อยปรับเปลี่ยนแนวทางในใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตให้เหมาะสมต่อไป และควรเขียนแนวทางในการใช้อินเทอร์เน็ตติดไว้ใกล้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อความสะดวกในการจัดระบบการใช้อินเทอร์เน็ต
2. อย่าให้รหัสลับแก่ผู้อื่น
3. ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ ทุกครั้งที่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลอื่นในอินเทอร์เน็ต
4. ตรวจทานว่าได้พิมพ์ชื่อเว็บไซด์ถูกต้องเสียก่อน แล้วจึงกด Enter เพื่อจะได้เข้าเว็บไซด์ที่ต้องการได้ถูกต้อง
5. ปรึกษาผู้ใหญ่ ก่อนเข้าใช้ห้องสนทนาบนอิน เทอร์เน็ต เพราะว่าห้องสนทนาแต่ละห้องมีการสนทนาที่แตกต่างกัน บางห้องอาจไม่เหมาะสม
6. ถ้าพบเห็นข้อความ หรือสิ่งใด ที่ไม่เหมาะสม หรือ คิดว่าไม่ดีต่อการใช้อินเทอร์เน็ต ควรออกจากเว็บไซด์นั้น และแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบทันที
7. อย่าส่งรูปภาพของตนเอง หรือรูปภาพของผู้อื่น ให้คนอื่นทางอีเมลล์ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่เสียก่อน
8. ถ้าได้รับอีเมลล์ที่มีข้อความไม่เหมาะสมหรือทำให้ไม่สบายใจ ไม่ควรโต้ตอบ และควรบอกให้ผู้ใหญ่ทราบก่อนทันที
9. บนอินเทอร์เน็ต ทุกอย่างที่คุณเห็นไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป
10. อย่าบอกอายุจริงของคุณกับคนอื่น ถ้ามีความจำเป็นควรปรึกษาผู้ใหญ่ก่อน
11. อย่าบอกชื่อจริง และนามสกุลจริงกับบุคคลอื่น ถ้ามีความจำเป็นควรปรึกษา และขออนุญาตผู้ใหญ่ก่อน
12. อย่าบอกที่อยู่ ของคุณกับบุคคลอื่น
13. ปรึกษาผู้ใหญ่ก่อนทุกครั้งที่จะทำการลงทะเบียนใด ๆ บนอินเทอร์เน็ต
14. อย่าให้หมายเลขของบัตรเครดิตการ์ดของคุณกับบุคคลอื่น ถ้ามีความจำเป็นควรปรึกษาผู้ใหญ่ก่อน
15. ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเรา คุณสามารถทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ และไม่ทำในสิ่งที่ไม่ต้องการได้
16. อย่าเปิดเอกสารหรืออีเมลล์หรือไฟล์ จากบุคคลอื่นที่ไม่รู้จัก เพราะอาจมีไวรัส หรือข้อมูลไม่เหมาะสม มากับเอกสารหรืออีเมลล์นั้น
17. ควรวางเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่สะดวกในการดูแลเอาใจใส่ เช่น ห้องนั่งเล่น หรือ ห้องส่วนรวม
18. อย่าตัดสินใจที่จะไปพบบุคคลอื่นซึ่งรู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ และถ้ามีการนัดพบกันไม่ควรไปเพียงลำพัง ควรมีผู้ใหญ่หรือคนที่รู้จักหรือเพื่อนไปด้วย และควรนัดพบกันในที่สาธารณะ
19. บนอินเทอร์เน็ตข้อมูลต่าง ๆ ที่เราพิมพ์ลงไป บุคคลอื่นที่เราไม่รู้จักสามารถล่วงรู้ได้ จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง
20. อย่าบอกเบอร์โทรศัพท์ของคุณกับบุคคลอื่น ในอินเทอร์เน็ต
21. พูดคุยกับผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ เกี่ยวกับสถานที่ กิจกรรม และสิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็น บนอินเทอร์เน็ตที่ได้พบเห็น ระหว่างการใช้อินเทอร์เน็ต
22. ใช้ชื่อที่ต่างจากชื่อจริง และชื่อเล่นของตัวเองเพื่อใช้แทนตัวเอง ในขณะใช้อินเทอร์เน็ต
23. ควรปรึกษาผู้ใหญ่ ถ้าต้องการที่จะให้อีเมลล์แอดเดรสกับบุคคลอื่นในอินเทอร์เน็ต
24. ถ้ามีบุคคลอื่นที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป ไม่ควรให้ข้อมูล และควรหยุดการสนทนานั้น
25. อย่าบอกชื่อ ที่อยู่ของโรงเรียนของคุณ กับบุคคลอื่นบนอินเทอร์เน็ต
26. ขณะใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรเชื่อคำพูดหรือข้อมูลของบุคคลอื่น เพราะการปลอมตัวทำได้ง่าย และอาจไม่เป็นความจริง
27. อย่าทำสิ่งผิดกฎหมายบนอินเตอร์เน็ต เช่น ถ้าไม่เคยใช้บัตรเครดิต ก็ไม่ควรกรอกข้อมูลในการซื้อของ โดยใช้บัตรเครดิต บนอินเทอร์เน็ต
28. เมื่อมีใครบางคนให้เงินหรือของขวัญ ฟรี ๆ กับคุณ ควรบอกปฏิเสธ และบอกให้ผู้ใหญ่ทราบทันที
29. อย่าใช้คำไม่สุภาพ ขณะใช้อินเทอร์เน็ต
30. คุณสามารถออกจากอินเทอร์ได้ด้วยตัวเอง ถ้าไม่ต้องการใช้อินเทอร์เน็ต



 

ในปัจจุบันการใช้ Social Network นับเป็นการสื่อสารหรือสังคมออนไลน์ที่เริ่มมีความนิยมมากขึ้น ดังนั้นการใช้สื่อหรือเครื่องมือในการสื่อสารประเภทนี้  จึงต้องให้ความสำคัญและควรตระหนักอยู่เสมอถึงความระมัดระวังในการใช้ Social Network  ว่าเราควรใช้กันอย่างไรถึงจะปลอดภัย 

 

- ไม่ควรระบุข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป 
      ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญเหล่านี้ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการระบุตัวตนที่สำคัญอันหนึ่งทีเดียว ควรพึงระวังอย่างยิ่ง หากเราเปิดเผยข้อมูลมากเท่าไหร่ ภัยร้ายก็จะเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นเท่านั้น อีกเรื่องที่สำคัญคือการระบุ วันเดือน ปี เกิด ทำให้เด็ก ๆ วัยรุ่นที่มีอายุน้อย ๆ ก็จะสามารถถูกล่อลวงได้ง่ายและเป็นจุดที่มิจฉาชีพสนใจ 
   

- ไม่ควร post ข้อความที่ชี้ชวนให้มิจฉาชีพเข้าถึงเรา 
       เช่น บอกสถานะว่าไม่อยู่บ้านวันไหน เมื่อไหร่ เมื่อไรก็ตามที่จะเดินทางไปพักผ่อนไม่ว่าไกลแค่ไหน ก็ไม่ควรบอกข้อมูลล่วงหน้า ซึ่งอาจทำให้ผู้ไม่หวังดีอาจวางแผนมาทำร้ายบุคคล หรืออาจวางแผนมาขโมยทรัพย์สินเราได้  และถือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มิจฉาชีพที่ไม่หวังดีกับเราติดตามพฤติกรรมของเราได้
   

- ไม่ควร post หรือเผยแพร่ข้อความ รูปภาพ วีดีโอที่ทำให้ผุ้อื่นเสียหาย 
       เช่น ภาพหลุด คลิปหลุด หรือโพสรูปภาพที่สื่อถึงสิ่งอบายมุขต่างๆ ไม่ควรใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด เสียดสี ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม รวมทั้งไม่ควรโพสต์รูปภาพ ภาพถ่าย วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร ลงใน Social Network
 

- ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นส่วนตัว หรือที่ทำงาน 
       เรื่องเงินทองถือเป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญ ไม่ว่าใครก็ต้องการโดยเฉพาะผู้ที่ไม่หวังดี ดังนั้นข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเงินทอง ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมการเงินของตัวเอง หรือที่ทำงานก็ตาม จึงไม่ควรเปิดเผยสู่สาธารณะ เพราะอาจจะนำภัยร้ายมาสู่ตัวเองได้
- ไม่ควรไว้ใจหรือเชื่อใจคนที่รุ้จักผ่านอินเทอเน็ต 
    เนื่องจากมีตัวอย่างการที่โดนล่อลวงผ่านการรุ้จักผ่าน Social Network หรือถูกหลอกเรื่องการซื้อขายผ่าน internet ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อของคุณ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่บ้าน หรือชื่อสถานศึกษาให้กับคนที่ไม่รู้จักหรือการไว้ใจ เชื่อใจคนแปลกหน้าที่รู้จักกันผ่านอินแทอร์เน็ตอาจเป็นอันตรายได้ เพราะอาจถูกหลอก หรือล่อลวงไปทำอันตรายได้ ดังนั้นไม่ควรไว้ใจบุคคลที่รู้จักทาง Social Network
 



อธิบาย สปายแวร์คอมพิวเตอร์ (Spyware)


ความหมายของ สปายแวร์ (spyware) 
          ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สอดแนม หรือ สปายแวร์ (spyware) หมายถึง ประเภทซอฟต์แวร์ที่ออกแบบเพื่อสังเกตการณ์หรือดักจับข้อมูล หรือควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยที่ผู้ใช้ไม่รับทราบว่าได้ติดตั้งเอาไว้ หรือผู้ใช้ไม่ยอมรับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเพื่อสร้างผลประโยชน์แก่ผู้อื่น
           ในความหมายทั่วไป สปายแวร์ คือ ประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกการกระทำของผู้ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ และส่งผ่านอินเทอร์เน็ตโดยที่ผู้ใช้ไม่ได้รับทราบ โปรแกรมแอบดักข้อมูลนั้นสามารถรวบรวมข้อมูล สถิติการใช้งานจากผู้ใช้ได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับการออกแบบของโปรแกรม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วบันทึกเว็บไซต์ที่ผู้ใช้เข้าถึง และส่งไปยังบริษัทโฆษณาต่างๆ บางโปรแกรมอาจบันทึกว่าผู้ใช้พิมพ์อะไรบ้าง เพื่อพยายามค้นหารหัสผ่าน หรือเลขหมายบัตรเครดิตไวรัส ที่มีจุดมุ่งหมายในการทำลายข้อมูล สร้างความเสียหายกับระบบ ทำให้ข้อมูลของคุณใช้การไม่ได้  แต่สปายแวร์แย่ยิ่งกว่านั้นเพราะภารกิจของมันไม่ใช่การทำลาย หากแต่เป็น “ การโจรกรรมข้อมูลที่สร้างความเสียหายมากกว่าที่คิด “
            สปายแวร์ ( Spyware ) เป็นการนำเอาคำว่า Spy  มาผสมกับ  Software กลายเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นสายลับ ซึ่งทำหน้าที่ล้วงข้อมูลส่วนตัวในเครื่องของคุร แล้วส่งออกไปยังผู้สร้างซึ่งจะนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ในสารพัดวิธี ที่แย่ไปกว่าข้อมูลของคุณถูกทำลายเสียอีก
เมื่อเครื่องของคุณมีสปายแวร์แฝงเข้ามา ข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆของคุณจะถูกบันทึกเก็บไว้ และส่งไปยังต้นตอผู้สร้างสปายแวร์ ด้วยจุดประสงค์ต่างๆตั้งแต่เรื่องเล็กๆจนถึงเรื่องที่สร้างความเสียหายและมูลค่ามากกว่าที่เราจะนึกถึง  เช่น
- การนำข้อมูลอีเมลของคุณไปเพื่อส่งอีเมลขยะขายของ   ขายบริการ
- แอบอ้างอีเมลของคุณไปใช้ในการส่งอีเมล
- การนำเอาข้อมูลชื่อที่อยู่ของคุณไปใช้แอบอ้างทางธุรกิจ
- การใช้ข้อมูลบัตรเครดิตไปซื้อของ การเข้าไปแก้ไขใช้ในการส่ง
- การแก้ไขระบบ เช่น บังคับให้เว็บเบราเซอร์เปิดไปยังเว็บไซต์ใดๆที่ตั้งเอาไว้
- การนำข้อมุลทางธุรกิจ ข้อมูลทางการเงิน ไปใช้ในทางที่ผิด ไม่ได้รับอนูญาต
ขั้นตอนง่ายๆในการป้องกัน Spyware
1. ปรับระดับความปลอดภัยของบราวเซอร์
ตามปกติแล้วโปรแกรม Internet Explorer จะมีการตั้งค่าเริ่มต้นความปลอดภัยในระดับ "Medium" ปลอดภัยปานกลาง มาให้คุณเรียบร้อยแล้ว หากคุณคิดว่ายังไม่พอ ก็อาจจะเข้าไปปรับให้เป็น "High" ปลอดภัยสูงสุด ได้ตามใจคุณ
2. อย่าดาวน์โหลดไฟล์สุ่มสี่สุ่มห้า
ระวังการลงโปรแกรมจากเว็บที่คุณไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะ โปรแกรม "ฟรี" ทั้งหลาย อีกทั้งพวกไฟล์เพลงหรือหนัง ที่เปิดแชร์กันทั่วไป ไฟล์พวกนี้น่ากลัวที่สุด ก่อนดาวน์โหลดจะต้องดูให้ดีก่อนทุกครั้ง
3. "อ่าน" ก่อนตกลง
วิธีการง่ายที่สุดในการป้องกัน Spyware ด้วยตัวคุณเองก็คือการ “อ่าน” ข้อความ “Privacy Policy” ก่อนที่จะมีการลงโปรแกรมในเครื่องของคุณว่าผู้ผลิตโปรแกรมนั้นจะนำข้อมูลส่วนตัวของคุณไปทำอะไรต่อ มีการส่งหรือขายข้อมูลหรือไม่ ถ้าไม่มีข้อความที่บอกถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนให้คุณพิจารณาเลือกที่จะติดตั้งเอาเอง เพราะเมื่อกด “I Accept” ไปแล้วทุกอย่างคงเรียกร้องหรือเปลี่ยนแปลงได้ยาก ก่อนการติดตั้งโปรแกรมต่างๆคุณควรจะพิจารณาให้ถ้วนถี่ก่อนทุกครั้ง
4. หาเครื่องมือมาช่วย
ปัจจุบันมีโปรแกรมที่ช่วยกำจัดและป้องกัน Spyware ในเครื่องคุณ มากมายหลากหลายโปรแกรม คุณก็สามารถเลือกใช้ได้เลย แต่ข้อสำคัญต้องไม่ลืมอัพเดทโปรแกรมให้ใหม่อยู่เสมอ เพื่อป้องกัน spyware ตัวใหม่ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. หมั่นอัพเดทวินโดว์
วิธีนี้จะช่วยให้เครื่องของคุณปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

อธิบาย ม้าโทรจันคอมพิวเตอร์ (Trojan)

โทรจัน (Trojan)

โทรจัน (Trojan) เป็นมัลแวร์อีกชนิดที่พบเห็นการแพร่ระบาดได้ทั่วไป มีลักษณะและพฤติกรรมไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกผู้ใช้ให้ดาวน์โหลดเอาไปไว้ในเครื่องหรือด้วยวิธีอื่นๆ สิ่งที่มันทำคือเปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาควบคุมเครื่องที่ติดเชื้อจากระยะไกล ซึ่งจะทำอะไรก็ได้ หรือมีจุดประสงค์เพื่อล้วงเอาความลับต่างๆ โทรจันยังแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดดังนี้
Remote Access Trojan (RAT) หรือ Backdoor เป็นโทรจันที่เปิดช่องทางให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเข้ามาควบคุมเครื่องได้จากระยะไกล หรือทำอะไรก็ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเหยื่อ
Data Sending and Password Sending Trojan เป็นโทรจันที่โขมยรหัสผ่านต่างๆ แล้วส่งไปให้ผู้ไม่ประสงค์ดี
Keylogger Trojan เป็นโทรจันที่ดักจับทุกข้อความที่พิมพ์ผ่านแป้นพิมพ์ของคีย์บอร์ด
Destructive Trojan เป็นโทรจันที่สามารถลบไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเหยื่อได้
DoS (Denial of Service ) Attack Trojan เป็นโทรจันที่เข้าโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นเป้าหมายบนอินเทอร์เน็ตในรูปแบบ DoS หรือ DDoS (Distributed denial-of-service) เพื่อทำให้ระบบเป้าหมายปฏิเสธหรือหยุดการให้บริการ (Denial-of-Service) การโจมตีจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันและมีเป้าหมายเดียวกัน โดยเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อทั้งหมดจะสร้างข้อมูลขยะขึ้นมาแล้วส่งไปที่ระบบเป้าหมาย เพื่อสร้างกระแสข้อมูลให้ไหลเข้าไปในปริมาณมหาศาลทำให้ระบบเป้าหมายต้องทำงานหนักขึ้นและช้าลงเรื่อยๆ เมื่อเกินกว่าระดับที่จะรับได้ ก็จะหยุดการทำงานลงในที่สุด อันเป็นเหตุให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้บริการระบบเป้าหมายได้ตามปกติ2 ส่วนรูปแบบของการโจมตีที่นิยมใช้กันก็มีเช่น SYN flood, UDP flood, ICMP flood, surf, Fraggle เป็นต้น
Proxy Trojan เป็นโทรจันที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเหยื่อกลายเป็นเครื่อง Proxy Server, Web Server หรือ Mail Server เพื่อสร้าง Zombie Network ซึ่งจะถูกใช้ให้เป็นฐานปฏิบัติการเพื่อจุดประสงค์อย่างอื่น
FTP Trojan เป็นโทรจันที่ทำให้ครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเหยื่อกลายเป็นเครื่อง FTP Server
Security software Killer Trojan เป็นโทรจันที่ Kill Process หรือลบโปรแกรมป้องกันไวรัสหรือลบไฟร์วอลบนเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อ เพื่อง่ายต่อการปฏิบัติการอย่างอื่นต่อไป
Trojan Downloader เป็นโทรจันที่ดาวน์โหลด Adware, Spyware และ Worm ให้มาติดตั้งบนเครื่องเหยื่อ

Malware




อธิบาย หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm)

ไวรัส และหนอนคอมพ์
หนอนคอมพิวเตอร์เป็นโปรแกรมคล้าย ๆ กับไวรัส แต่หนอน คอมพิวเตอร์ทำงานแตกต่างไปบ้าง กล่าวคือ จะทำงานในระบบเครือข่าย เช่นระบบอินเทอร์เน็ต เมื่อหนอนคอมพิวเตอร์ หาทางเข้าไปสู่หน่วยความจำ ของคอมพิวเตอร์ได้แล้ว มันก็จะเริ่มตรวจสอบ บัญชีรายชื่อ ในแฟ้มลูกข่ายของ เครื่องนั้นว่า มีที่อยู่ของใครบ้าง จากนั้นก็จะก๊อปปี้ตัวมันเอง ส่งไปยังชื่อในบัญชีนั้น เมื่อไปถึงและมีโอกาส เข้าไปสู่หน่วยความจำ แล้วก็จะรอแผลงฤทธิ์ แบบเดียวกันกับ ที่กล่าวมาแล้ว

ดังนั้น ในไม่ช้า ในระบบเครือข่าย ก็จะมีหนอนส่งตัวเอง กลับไปกลับมา อยู่ตลอดเวลา ผลก็คือ ระบบเครือข่ายก็ทำงานช้าลง


หนอนคอมพิวเตอร์บางตัว ถูกบรรจุใส่ห่อแฟ้มข้อมูลมาพร้อมกับจดหมายอีเมล์ หากไม่เปิดห่อดูหนอนก็ไม่ออกมาอาละวาด แต่หนอนบางตัวมาพร้อมกับ จดหมายอีเมล์ เลยทีเดียว ดังนั้นเพียงแค่เปิดจดหมายอ่าน หนอนก็ออกมาอาละวาดได้แล้ว หนอนบางตัวเป็นไวรัสด้วย ดังนั้นความร้ายกาจจึงมีมาก

อันตรายที่เกิดจากหนอนคอมพิวเตอร์
หนอนคอมพิวเตอร์สามารถที่จะควบคุมความสามารถบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และสามารถที่จะส่งไฟล์หรือข้อมูลที่สำคัญของคุณไปสู่ผู้ที่ไม่หวังดี คู่แข่ง หรือใครก็ได้ ทำให้เกิดความเสียหายได้
การป้องกัน
1. ไม่เปิด ไฟล์ที่แนบมากับ อีเมล ที่ส่งมาจากผู้ที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร
2. ถึงไม้ว่าจะรู้ว่าผู้ส่งเป็นใคร ก็ไม่ควรเปิดไฟล์ที่แนบมาถ้าไม่แน่ใจว่าไฟล์ที่แนบมาเป็นอะไรกันแน่
3. ทำการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส
4. ทำการ อัปเดตข้อมูลไวรัสของโปรแกรมป้องกันไวรัสให้เป็นปัจจุบันตลอด
5. ติดตั้งตัวแก้ไขระบบปฏิบัติการ
6. ติดตั้งไฟร์วอลล์

อธิบาย ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus)

ไวรัสคอมพิวเตอร์
ความหมายของไวรัสคอมพิวเตอร์
                  ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้นมาแต่เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อก่อกวนการทำงานของระบบเลยทำลายแฟ้มข้อมูล โปรแกรมต่าง ๆ  ที่มีอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์     สาเหตุที่ได้มีการเรียกชื่อกันว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เนื่องมาจากคำว่า   ไวรัส          มีความหมายว่าเป็นเชื้อโรคที่สามารถแพร่ระบาดและติดต่อได้อย่างรวดเร็วสามารถหลบ ซ่อนตัวไว้อยู่ในหน่วยความจำและจะอยู่ในหน่วยความจำตลอดจนกว่า จะปิดเครื่อง    เมื่อมีการนำแผ่นบันทึกอื่น ๆ     มาใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไวรัสหลบซ่อนอยู่ในหน่วยความจำแผ่นบันทึกแผ่นนั้นก็จะติดไวรัสไปด้วยกำเนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์
             กำเนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นโดย 2พี่น้องชาวปากีสถานมีชื่อว่า อัมจาด และเบซิต ซึ่งทั้ง พี่น้องเปิดร้านขายคอมพิวเตอร์ และซอฟแวร์ต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็ได้มีการปล่อยไวรัสเบรน   (Brain)   ไว้ในโปรแกรมที่ลูกค้ามาก๊อปปี้ไปใช้งานด้วยประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ ไวรัสที่ติดอยู่ในบูตเซกเตอร์ ไวรัสที่ติดตารางพาร์ติชั่น ไวรัสที่ติดในแฟ้มการติดต่อของไวรัสคอมพิวเตอร์มี ทาง คือ ดิสก์และสายสื่อสาร
ประเภทไวรัสคอมพิวเตอร์
บูตไวรัส
บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที
บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ไฟล์ไวรัส
ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น

มาโครไวรัส
มาโครไวรัส (macro virus) คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้ เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น

หนอน
หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้งหมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งสูงขึ้น

อื่นๆ
โทรจัน
ม้าโทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
อาการคอมพิวเตอร์ติดไวรัส
1.   เนื้อที่ในฮาร์ดดิสก์ลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยไม่ได้ลงโปรแกรม หรือนำข้อมูลมาลง
2.   วินโดวส์แสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ข้อความโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีโปรแกรมบางตัวทำงานโดยที่ไม่ได้สั่ง
3.   คอมพิวเตอร์ทำงานช้า อืดผิดปกติทั้งๆที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมอะไร
4.   ไฟล์ข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก ทุกครั้งที่ใช้งาน
5.   เปิดหรือการโหลด เข้าใช้งานโปรแกรมเข้าสู่หน่วยความจำใช้เวลานานขึ้น
6.   เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดอาการแฮงค์ (Hang) โดยไม่ทราบสาเหตุ อยู่ดีๆโปรแกรมก็ปิดเอง
7.   เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้ บูตเครื่องจากฮาร์ดดิสก์ไม่ได้
8.   เปิดไฟล์เอกสารไม่ได้ทั้งๆที่เคยเปิดอยู่ทุกวัน หรือเปิดได้แต่เป็นตัวอักษรประหลาดๆ ปนมาด้วย
9.   เครื่องคอมพิวเตอร์มีการกระทำที่แปลกๆ สุดแต่ผู้เขียนโปรแกรมไวรัสจะกำหนดมา เช่น อาจส่งเสียงพิสดารต่างๆ หรือกดอักษร หนึ่งครั้ง ก็แสดงอักษร A ออกมาได้หลายสิบตัว
10.           เปิดเล่น โปรแกรม IE, Mozilla Firefox เข้าเว็บ สแกนไวรัส.com แล้วมีข้อความโฆษณาหรือข้อความแปลกๆขึ้นที่หน้าจอ
11.           โปรแกรมป้องกันไวรัสไม่สามารถเปิดได้ หรือเปิดโปรแกรมต่างๆ ไม่ได้ อยู่ดีๆโปรแกรมที่ใช้ทุกวันก็หายไป
12.           เครื่องมีการรีสตาร์ทหรือปิดเองขณะใช้งาน หรือไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้
13.           ฮาร์ดดิสก์ หรือ CPU ทำงานมากอย่างผิดสังเกต หรือไฟแสดงการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย (เช่น Broadband Modem, Hub, Switch) ติดตลอดเวลา โดยที่ท่านไม่ได้ใช้งานอะไรเป็นพิเศษ
14.           มีไฟล์ต่างๆ เช่น Autorun.inf หรือไฟล์นามสกุล .vbs ในไดรฟ์ต่างๆ โดยที่ไม่ได้สร้างขึ้น
15.           ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อย ๆ
16.           เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ
17.           แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย
18.           ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ ๆ ก็หายไป
19.           อาการของการติดไวรัสนั้นยังมีอีกมากมาย ขึ้นอยู่กันชนิดของไวรัสด้วยโดยทางสแกนไวรัส.com ขอเสนออาการที่ท่านสามารถสังเกตได้โดยง่ายเท่านั้น แต่ความเข้าใจผิดบางอย่างก็อย่าไปเข้าใจว่าเป็นอาการของไวรัสทั้งหมดนะครับ
วิธีกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์
การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดก็คือ ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เลย แต่วิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ได้ประโยชน์สูงสุด มีบางองค์กร กำหนดว่าห้ามนำดิสก์เกตต์จากแหล่งอื่นเข้ามาใช้ในศูนย์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ และได้เตรียมแผ่นดิสก์ไว้ให้ผู้ที่มาใช้บริการคอมพิวเตอร์ใช้งาน หรือบางองค์กรอาจลงทุนซื้อการ์ดป้องกันไวรัสมาติดตั้งเข้ากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันไวรัสได้แค่บางส่วนเท่านั้น บางครั้งด้วยความประมาทของผู้ใช้งานก็อาจทำให้ไวรัสลอบเข้ามาภายในเครื่องโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการทำความเข้าใจถึงภัยอันตรายของไวรัสคอมพิวเตอร์ และเรียนรู้วิธีการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ จึงมีความสำคัญที่สุด




บริการจาก Google และยกตัวอย่าง (10 บริการ)

กูเกิล เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์

1.Google Search เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มีให้บริการมากกว่า  100 ภาษา
2.Google Groups บริการเว็บบอร์ด และสร้างเว็บไซต์ของกลุ่ม
3.Google Image Search บริการค้นหารูปภาพออนไลน์
4.Google Calendar บริการปฏิทินและจดวันนัดหมาย
5.Gmail บริการอีเมล
6.Google Translate บริการแปลข้อความผ่านเว็บไซต์ รวมถึงแปลเว็บไซต์ทั้งหน้า
7.Blogger บริการเขียนบล็อก
8.Blog Search บริการค้นหาบล็อก
9.Picasa เว็บไซต์เก็บภาพ ใช้งานคู่กับซอฟต์แวร์ปีกาซา
10.Google Page บริการสร้างเว็บไซต์


อธิบาย Social Network และยกตัวอย่าง

 Social Network หรือ เครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก............... การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติ    พลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย............... Social Network เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์เสมือนที่ตอบสนองกับการสร้างสายสัมพันธ์ โยงใยให้เราได้เจอบุคคลที่คุยกันในเรื่องที่สนใจได้อย่างคอเดียวกัน สามารถเชื่อมโยงเพื่อนของเรา เข้ากับเพื่อนของเขา สามารถสร้างสรรค์สังคมใหม่ๆให้กับทุกคน สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารภายในองค์กร และภายนอกองค์กรเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองรูปแบบชีวิตของมนุษย์ยุคปัจจุบันนั่นเองครับ โดยภาพรวม Social Network เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับองค์กรจากปากคำของเราเองได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่จะสามารถสื่อสารกับคนในองค์กรของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องประสบปัญหาการบิดเบือนข้อความ หรือการสื่อสารที่ตกหล่นอีกต่อไป ครูอาจารย์สามารถให้แง่คิดหรือสิ่งละอันพันละน้อยแก่ลูกศิษย์ได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้พูดกันทีเดียวคราวละยาวๆ นักวิจัยอาจพบอะไรที่น่าสนใจแล้วสื่อสารให้รู้กันทุกคนในเครือข่ายเดียวกันได้ทันทีเพื่อให้ทีมรับรู้สิ่งน่าสนใจไปพร้อมๆกัน                


ตัวอย่าง
1.Hi5
2.Facebook
3.MySpace.com
4.twitter
5.Friendster
6.Orkut
7.Bebo
8.Multiply
9.Flickr
10.Odoza



อธิบาย Homepage/ Webpage /Website /Web Browser

Website , Webpage , Homepage , URL , Browser , HTML , FTP , Web server , Domain name คือ

เว็บไซด์ Wsite คือ ศูนย์รวบรวมความรู้และแหล่งข้อมูลต่างๆ อาทิ เช่น ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ บันเทิง กีฬา เป็นต้น ปัจจุบันเว็บไซด์ได้เข้ามามีบทบาทในแวดวงธุรกิจแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของบริษัท ร้านค้า ชั้นนำ ต่างๆทั่วไป เหตุผลหนึ่งในการมีเว็บไซด์นั้น เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจนั้นๆ อีกทั้งเว็บไซด์ยังสามารถตอบสนองและครอบคลุมผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างไม่มีขีดจำกัดอีกด้วย เพราะสามารถเข้าเยี่ยมชมข้อมูลเว็บไซด์จากอินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลกขั้นตอนแรกในการขอเริ่มใช้บริการเว็บไซด์นั้น นักลงทุนจะต้องไปติดต่อกับตัวแทนจำหน่าย เพื่อขอจดทะเบียนชื่อเว็บไซด์ ( Domain name ) และพื้นที่ในจัดทำเว็บไซด์ ( hosting ) ก่อน โดยการจดทะเบียนขอใช้บริการเว็บไซด์นั้น จะมีสกุลดอทให้เลือกหลากหลายประเภท
เว็บเพจ (webpage) หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งาน โดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอพเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วย โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเพจ เช่น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver , PHP & MySQL , Flash Professional เป็นต้น
โฮมเพจHomepage คือ หน้าแรกที่แสดงข้อมูลของเว็บไซต์ หรือ WWW (World Wide Web) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ หรือ เป็นการดึงดูด ให้เข้าไปชมข้อมูลภายใน ซึ่งภายในโฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆที่เรียกว่า เว็บเพจ (web page) เชื่อมโยงต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวนมากคะ 
URL คือตำแหน่งของไฟล์บนเว็บ ตัวอย่างของ URL ได้แก่ http://www.blogger.com/ หรือhttp://myblog.blogspot.com/ URL ที่คุณเลือกจะถูกใช้งานโดยผู้เข้าชมหรือตัวคุณเอง ในการเข้าถึงบล็อกของคุณ ในกระบวนการสร้างบล็อก คุณจะได้รับแจ้งให้เลือก URL สำหรับบล็อกของคุณ ถ้าคุณต้องการใช้บริการพื้นที่บน Blog*Spot เนื่องจากมีบล็อกอยู่ใน Blog*Spot เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว คุณจะต้องใช้ความสร้างสรรค์และลองใช้ค่าอื่นๆ ก่อนที่จะพบค่าที่ใช้ได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องทราบเมื่อเลือก URL ของบล็อกก็คือ เครื่องหมายยัติภังค์ (ไฮเฟน หรือเครื่องหมายขีดกลาง) เป็นอักขระที่ไม่ใช่ตัวเลขและตัวอักษรที่ใช้ได้เพียงตัวเดียว คุณไม่สามารถใช้ช่องว่างหรือเครื่องหมายขีดล่าง (_) หรืออักขระพิเศษ
Browser คือเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถท่องเที่ยวไปในโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ขีดกั้นทางด้านพรมแดน นอกจากนี้ Browser ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งในขณะนี้บริษัทผลิตซอฟแวร์ค่ายต่างๆ นับวันจะทวีการแข่งขันกันในการผลิต Browser เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่นักท่องเว็บให้มากที่สุด หน้าตาของ browser แตกต่างกันไปตามแต่การออกแบบการใช้งานของแต่ละค่ายโปรแกรม

โปรแกรม Browser ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer และ Nescape Navigator แม้ว่าโดยรวมแล้วทั้งสองมีหลักการทำงานที่ค่อนข้างคลายคลึงกัน แต่หน้าตาที่ผิดเพี้ยนกัน คือ ตำแหน่งเครื่องมือ และชื่อเรียกเครื่องมือ อาจทำให้คุณอาจเกิดการสับสนบ้าง หากว่าคุณใช้ Browser ค่ายใดค่ายหนึ่งเป็นประจำ วันหนึ่งคุณอาจสนใจหยิบ Browser ของอีกค่ายหนึ่งมาลองใช้งานดู ความสนุกในการท่องเว็บไซต์ของคุณอาจถูกบั่นทอนลง เพราะความไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือ 

HTML (ชื่อเต็มคือ Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) คือภาษามาร์กอัปออกแบบมาเพื่อใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรับ .html และ สำหรับ .htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร


FTP หรือ File Transfer Protocol เป็นบริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย โดย ใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องลูกไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) ใช้ในการดาวน์โหลดข้อมูล จากเครื่องแม่ข่าย มาไว้ที่เครื่องลูก การใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิก FTP Server และบุคคลภายนอก ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก โดยสามารถเข้าไปใช้บริการได้ (บางประเภท) ในนาม anonymous ปัจจุบันการใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบ Text Mode ผ่าน Unix ด้วยคำสั่ง get, put หรือ Graphics Mode ผ่าน Microsoft Windows เช่น การใช้โปรแกรม WinFTP Light, CuteFTP
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องบริการเว็บแก่ผู้ร้องขอด้วยโปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ที่ร้องขอข้อมูลผ่านโปรโตคอลเฮชทีทีพี (HTTP = Hyper Text Transfer Protocol) เครื่องจะส่งข้อมูลให้ผู้ร้องขอในรูปของข้อความ ภาพ เสียง หรือสื่อผสม เครื่องบริการเว็บจะเปิดบริการพอร์ท 80 (HTTP Port) ให้ผู้ร้องขอได้เชื่อมต่อผ่านโปรแกรมประเภทเว็บบราวเซอร์ เช่น โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กโพเลอร์ (Internet Explorer) หรือฟายฟร็อก (FireFox Web Browser) แล้วแจ้งชื่อที่ร้องขอในรูปของที่อยู่เว็บ (Web Address หรือ URL = Uniform Resource Locator) เช่น http://www.google.com หรือhttp://www.thaiall.com
 เป็นต้น โปรแกรมที่นิยมนำใช้เป็นเครื่องบริการเว็บ ได้แก่ อาปาเช่ (Apache Web Server) และไมโครซอฟท์ไอไอเอส (Microsoft IIS = Internet Information Server) ส่วนบริการที่มักติดตั้งเพิ่มเพื่อทำให้เครื่องบริการทำงานได้ตรงกับความต้องการของผู้บริหารระบบ (Administrator) เช่น ตัวแปลภาษาสคริปต์ ระบบฐานข้อมูล ระบบจัดการผู้ใช้ เป็นต้น
domain name คือ ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมล์แอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้ง เราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้ 


ที่มา...http://kritsuda.blogspot.com/2009/11/website-webpage-homepage-url-browser.html


ที่มา...http://help.ask.com/link/portal/30015/30018/Article/134/Ask-com-is-my-default-homepage-in-Google-Chrome-How-do-I-change-it