วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

Blog ของฉัน

นางสาว วงศ์ผกา  วัชวงค์
รหัส 554552142    หมู่เรียน  55/98
คณะวิทยาการจัดการ โปรแกรมวิชา นิเทศศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

การออกกำลังกายและบริหารร่างกายสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์

  1. Deep Breathing หรือการทำสมาธิ
  • Deep Breathing หรือการทำสมาธิ
  • ขณะยืนหรือนั่ง
  • มือข้างหนึ่งวางไว้บนท้อง อีกครั้งหนึ่งวางไว้บนอก
  • หายใจเข้าทางจมูก
  • กลั้นไว้ 4 วินาที
  • หายใจออกทางปาก
  • ทำซ้ำๆกัน
  1. Sidebend: Neck Stretch การยืดกล้ามเนื้อคอ
  • การยืดกล้ามเนื้อคอ
  • เอียงคอไปด้านข้าง (เคลื่อนหัวให้หูไปเข้าใกล้ไหล่)
  • ค้างไว้ 15 วินาที
  • ผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำอีกข้าง

  1. Diagonal Neck Stretch การยืดกล้ามเนื้อคอ
  • หน้าตั้งตรง ค่อยๆก้มหน้ามองกระเป๋า
  • ค้างไว้ 15 วินาที
  • ผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำข้างละ 3 ครั้ง
  1. Shoulder Shrug ขยักไหล่
  • ขยับไหล่ขึ้นเข้าหาหูค้างไว้ 3 วินาที
  • หมุนหัวไหล่
  • ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  1. Executive Stretch
  • นั่ง มือประสานไว้หลังศีรษะ
  • ดึงข้อศอกไปข้างหลังให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • หายใจเข้าลึกๆ เอนตัวไปข้างหลัง
  • ค้างไว้ 20 วินาที
  • หายใจออกและผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำอีกหนึ่งครั้ง
  1. Foot Rotation ป้องกันโรคชั้นประหยัด
  • ขณะนั่ง หมุนข้อเท้าช้าๆ ทำซ้ำไปในทิศทางตรงกันข้าม
  • ทิศทางหนึ่งให้หมุน 3 ครั้ง
  • เท้าอีกข้างก็ทำเช่นเดียวกัน
  • ทำข้างละ 2 ครั้ง

  1. Wrist Stretch เหยียดข้อมือ
  • แขนเหยียดตรงไปข้างหน้า
  • ดึงมือเข้าหาตัวด้วยมืออีกข้าง ทั้งดึงขึ้นและดึงลง
  • ค้างไว้ 20 วินาที
  • ผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำข้างละ 3 ครั้ง
  1. การนวดมือ

  • ขณะนั่งปล่อยมือข้างลำตัว สลัดมือลงอย่างช้า ทำบ่อยๆ
  • นวดผ่ามือด้วยนิ้วมือทั้งด้านในและด้านนอก ควรนวดก่อนทำงาน
  • นวดนิ้วมือโดยนวดจากโคนนิ้วไปเล็บ


อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์


 อาหารดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพฉันใด อาหารบำรุงสายตาก็มีความจำเป็นต่อสุขภาพสายตาที่ดีฉันนั้น การมองเห็นเป็นสิ่งที่วิเศษสุดของคนเรา สุขภาพสายตาควรได้รับการดูแลอย่างดี
ด้วยการใช้ดวงตาอย่างทะนุถนอมและรู้จักดูแลบำรุงรักษาสายตาด้วยการเลือกกินอาหารที่มีสารอาหารและวิตามินบำรุงสายตา

อาหารบำรุงสายตา จะมีวิตามินเอ สารอาหารที่ชื่อว่า ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารอาหารสำคัญในอาหารบำรุงสายตา วิตามินเอจะได้จากอาหารจำพวก ตับไก่ ตับหมู ไข่แดง ฟักทอง ฯลฯ สำหรับสารอาหารลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) นั้นเหมาะสำหรับคนที่ห่วงใยสุขภาพสายตาอย่างจริงจังและคนที่ทำงานโดยใช้สายตามากเช่น คนที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆในแต่ละวันหรือต้องทำงานอยู่กลางแจ้งที่มีแสงแดดจ้า คนที่ต้องขับรถกลางคืนบ่อยๆที่มักจะถูกแสงไฟรถที่วิ่งสวนมาสาดเข้าตาบ่อยๆในลักษณะเดียวกับแสงไฟแฟลชจากกล้องถ่ายรูปทำให้สายตาต้องทำงานหนักเมื่อเจอแสงสว่างในลักษณะนี้



สารอาหารลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)นั้นจะอยู่ในจุดรับภาพของดวงตาคนเรา สารอาหารทั้งสองตัวนี้จะช่วยกรองแสงหรือป้องกันรังสีที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา นอกจากนี้ลูทีน(Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin)ยังช่วยปกป้องไม่ให้เซลล์ของจอประสาทตาถูกทำลาย ดังนั้นการบำรุงรักษาสายตาทำได้โดยรู้จักเลือกกินอาหารที่มีสารลูทีน(Lutein)และซีแซนทีน(Zeaxanthin)อยู่เพื่อประโยชน์ในการบำรุงสายตา




อาหารที่มีลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) ที่ช่วยบำรุงสายตาได้แก่อาหารจำพวกพืชผักผลไม้ที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลืองเช่น ผักคะน้า ผักปวยเล้ง ผักโขมและข้าวโพด สารอาหารที่จำเป็นในการบำรุงสายตาควบคู่ไปกับลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin)ก็คือวิตามินเอที่ได้จากอาหารจำพวกฟักทอง
แครอท ผักตำลึง ตับหมู มะละกอ มะม่วงสุก
ผักบุ้ง ฯลฯ นอกจากนี้สารอาหารทั้งสองตัวนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจก(Cataracts) โรคกระจกตาเสื่อม(AMD) มะเร็งเต้านมและโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

การดูแลรักษาสุขภาพดวงตาให้มีสุขภาพดี นอกจากจะรู้จักเลือกกินอาหารบำรุงสายตาที่มีสารลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) และวิตามินเอแล้วยังมีสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของสายตานั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตาในการทำงานเช่น ใช้แผ่นกรองแสงกับจอคอมพิวเตอร์และปรับลดระดับแสงสว่างจากจอคอมพิวเตอร์ให้พอเหมาะอย่าให้สว่างจ้ามากเกินไป เมื่อทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆเป็นเวลานานให้รู้จักหยุดพักสายตาบ้างสัก 3-5 นาทีแล้วค่อยกลับไปทำงานต่อ เมื่อต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานควรสวมแว่นกันแดดเพื่อลดปริมาณแสงที่จะเข้ามายังตาของเรา

อาหารบำรุงสายตาช่วยให้ดวงตาได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาและการปรับพฤติกรรมการทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆจะเป็นการป้องกันและช่วยถนอมรักษาดวงตา หากทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกันก็เหมือนกับการบำรุงรักษาสายตาจากภายใน (กินอาหารบำรุงสายตา) และป้องกันอันตรายรบกวนกับสายตาจากภายนอก (ปรับพฤติกรรมการใช้สายตา) ซึ่งจะมีผลช่วยถนอมและรักษาดวงตาให้อยู่กับเราไปได้อีกนานเท่านาน





การดูแลสุขภาพดวงตา กับการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์

เคล็ดลับเพื่อถนอมดวงตาเวลาใช้คอมพิวเตอร์

1. กระพริบตาให้ถี่ขึ้น อาการตาแห้ง เกิดจากการที่เรากระพริบตาน้อยลง เนื่องจากมีสมาธิขณะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกระพริบตาจะลดลงจาก 20 - 22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6 - 8 ครั้งต่อนาที ถ้าไม่อยากตาแห้ง ควรจะกระพริบตาให้ถี่ขึ้น หรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
2. จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม
ให้ บริเวณหน้าต่างอยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ ควรจัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50 - 70 ซ.ม. จัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 4 - 9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป
3. ปรับความสว่างของห้อง ควรปิดไฟบางดวงที่ทำการรบกวนการทำงาน เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสว่างที่มากเกินไป ถ้ามีแสงจ้าจากหน้าต่าง ควรใช้มูลี่เพื่อปรับแสงให้ผ่านได้เพียงบางส่วน และไม่เข้าตาโดยตรง หลีกเลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีผิวสะท้อน เช่น โต๊ะสีขาว ควรใช้วัสดุที่มีผิวด้าน ที่สะท้อนแสงไม่มากจะดีกว่า

4. เลือกใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ เวลาพิมพ์งาน ควรเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่พอ และปรับความเข้มของตัวอักษรให้มากขึ้น ซึ่งขนาดตัวอักษรและความเข้มที่เหมาะสมจะสังเกตได้จากการที่เราอ่านตัวอักษร ได้ในระยะห่างเป็น 3 เท่าของระยะที่นั่งทำงาน หรือเลือกใช้จอคอมพวิเตอร์ชนิด LCD (จอแบน) ซึ่งจะช่วยถนอนสายตาได้ดีกว่าจอแบบเก่า (CRT)

5. เลือกใช้แว่นที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ ควรเลือกใช้เลนส์สีเขียวอ่อน ที่ช่วยให้สบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และเพื่อลดแสงสะท้อนจากจอภาพ โดยเลือกแว่นตาที่มีกำลังขยายสำหรับระยะ 50 - 70 ซ.ม. (ระยะกลาง) ซึ่งค่ากำลังของเลนส์ดังกล่าวจะแตกต่างจากเลนส์อ่านหนังสือ หรือเลนส์มองใกล้ทั่วไป
 
6. พักสายตา ทุกๆ ชั่วโมง ควรเปลี่ยนอริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อพักสายตาและป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็น เวลานาน


   


ภัยเทคโนโลยีต่อสุขภาพ

“คอมพิวเตอร์” เทคโนโลยีที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนชีวิตของคนเราดีขึ้นทั้งเรื่องของการเรียน การทำงาน หรือการติดต่อสื่อสารก็จริงแต่ว่าการที่เราเข้าไปคลุกคลีกับเจ้าคอมพิวเตอร์ มากขึ้นเท่าไร สุขภาพร่างกายของเราก็ยิ่งทรุดโทรมเร็วมากขึ้นเท่านั้น หรือที่ทางการแพทย์ เรียกว่า “โรคจากคอมพิวเตอร์”



ทางการแพทย์ระบุว่า ผู้ที่ใช้เวลากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ นั้น มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน.....โรคความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม เป็นโรคที่เกิดแล้วไม่ได้รุนแรง แต่อาการของโรคนั้นจะค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป อาการก็จะค่อยๆ เริ่มจากการปวดคอ ปวดไหล่ ปวดข้อมือและหลัง เนื่องจากนั่งอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ซึ่งจะมีอาการแทรกซ้อนขึ้นมาคือ อาการชาที่มือซึ่งจะมีอยู่ 3 ระดับ ระดับแรกจะเป็นแล้วหายเมื่อพักสักครู่ก็จะหาย ระดับที่สองคือ เป็นยาวไปถึงตอนกลางคืน ระดับที่สามก็จะเป็นตลอดเวลาพักแล้วก็จะไม่หาย

นักวิจัยชาวอังกฤษได้ทำการศึกษาและพบว่าคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์นั้น เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียอันตรายมากกว่าโถสุขภัณฑ์ถึง 5 เท่า!!! และทำให้ผู้ใช้ท้องเสียโดยไม่รู้ตัว ไม่เพียงเท่านั้นยังมีอีกหลายโรคที่เกิดเพราะคอมพิวเตอร์ เช่น



ท้องร่วงเพราะคีย์บอร์ด : Qwerty Tummy คือโรคที่ตั้งชื่อตามตัวอักษรชุดแรกบนแป้นคีย์บอร์ดที่มีแบคทีเรียเป็นต้นเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ จากการรับประทานอาหารขณะใช้เครื่องคอมพ์ไปด้วย มีการวิจัยพบว่าผู้ใช้คอมพ์ 1 ใน 10 ไม่เคยทำความสะอาดคีย์บอร์ด และ 20% ไม่เคยทำความสะอาดเมาส์ ขณะที่ 50% ไม่เคยทำความสะอาดคีย์บอร์ดภายในเวลาหนึ่งเดือน

ทางแก้ไขคือ ควรทำความสะอาด คีย์บอร์ดเป็นประจำ วิธีการคือ ทำความสะอาดด้วยผ้าเนื้อนุ่มชุบน้ำหมาดๆ อย่าลืมถอดปลั๊กคอมพิวเตอร์ก่อน 

ปวดตา : จากการที่ต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และจอคอมพิวเตอร์ที่สั่นไหว ทำให้เกิดอาการปวดตา และอาจเป็นสาเหตุของโรคต้อหินในอนาคตด้วย โดยเฉพาะในหมู่ผู้ที่สายตาสั้น ควรละสายตาจากจอบ้างเป็นครั้งเป็นคราว กะพริบตาเป็นระยะ เพราะดวงตาต้องการความชุ่มชื้น

ทางแก้ไข เพื่อคลายความเมื่อยล้าให้กับดวงตาด้วยวิธีง่ายๆ คือ นั่งลงในท่าสบายๆ หายใจเข้าออกช้าๆ ถูฝ่ามือทั้งสองให้พออุ่น นำฝ่ามือประคบบนดวงตา โดยหลับตาลง อย่าให้ฝ่ามือแนบชิดกับดวงตามากเกินไป นั่งนิ่งๆ ในท่าดังกล่าว ประมาณ 1 นาที ค่อยๆ เอามือออกช้าๆ จะช่วยให้รู้สึกสบายตาขึ้น

โรคเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับ : ปรับระดับความสูงของเก้าอี้หรือโต๊ะที่วางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ข้อศอกอยู่ในมุม 90-100 องศา วางคีย์บอร์ดให้เหมาะ เวลาใช้คีย์บอร์ดจะได้ไม่ต้องงอมือให้อยู่ในท่าที่ไม่สะดวกสบาย ควรวางข้อมือบนโต๊ะหน้าคีย์บอร์ดถ้าหากจำเป็น ควรพิมพ์คีย์บอร์ดและใช้เมาส์อย่างเบามือ 

ทางแก้ไขคือ ออกกำลังข้อมือและนิ้วบ้าง ควรลุกจากโต๊ะ ทำงานอื่นที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์บ้าง 



ปวดคอและหลัง : สำรวจท่านั่งเวลาทำงานของตัวเอง ควรนั่งตัวตรง ห่างจากจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 18-24 นิ้ว เก้าอี้ที่ดีควรจะมีล้อ สามารถปรับพนักพิงได้ และต้องมีที่วางแขน โต๊ะควรจะมีพื้นที่ว่างสำหรับวางเครื่องมืออื่นๆ ในการทำงาน 

อันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า :เมื่อเราเปิดเครื่องใช้ก็จะมีรังสีแผ่ออกมา จึงไม่ควรนั่งใกล้จอเกินไป โดยเฉพาะเวลาใช้แล็ปท็อปซึ่งทำให้เราต้องนั่งใกล้เครื่องมากกว่าพีซี หากไม่ใช้เครื่องก็ควรปิดโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ในห้องนอน 






ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงจะปลอดภัย


คอมพิวเตอร์


ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงจะปลอดภัย (สภากาชาดไทย)

          ผู้มีอาชีพที่จะต้องนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน มักจะเกิดปัญหากับสุขภาพหลายอย่าง ทั้งสายตา ปวดคอ ปวดหลัง

          ปัญหาทางสายตาเป็นเรื่องใหญ่  ใครที่นั่งจ้องจอคอมฯ นานกว่า 3 ช.ม. ติดต่อกัน จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า สายตาจะพร่า อาจปวดกระบอกตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล  

วิธีแก้ปัญหา

           1. ควรตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างอย่างน้อย 2 ฟุต ในระดับสายตาตรงหน้าพอดี  

           2. เลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ รู้ได้โดยเวลาดับเครื่องไฟฟ้าสถิตจะมีน้อย ถ้ามีมากเอามือไปอังใกล้ ๆ หน้าจอ ขนจะลุก

           3. ปรับแสงให้พอรู้สึกสบายตา อาจใช้แผ่นกรองแสงสวมหน้าจอจะช่วยได้ ไฟแสงสว่างด้านหลังอาจทำให้เกิดภาพสะท้อนที่จอทำให้สายตาเสียได้  

           4. ทำความสะอาดจอภาพของคอมพิวเตอร์เสมอ

           5. ควรพักสายตาบ้าง ไม่ควรทำคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1-2 ช.ม. ควรพักสายตาสัก 15 นาที หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหมาด ๆ ปิดตาไว้ 2-3 นาที จะช่วยได้มาก

           6. พวกใช้คอนแทคเลนส์ ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อย ๆ


ปวดคอ


ปัญหาปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ แก้ไขโดย

           1. ตั้งจอตรงหน้าพอดีไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่เอียงซ้าย หรือขวา

           2. คีย์บอร์ดและเม้าส์ควรอยู่ระดับเอวหรือระดับหน้าตักพอดี เพราะถ้าอยู่สูงกว่านี้เวลาใช้คีย์บอร์ดและเม้าส์นาน ๆ ไหล่จะค่อย ๆ ยกสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แขนและมือจะได้ทำงานถนัด แต่การยกไหล่ขึ้นนาน ๆ กล้ามเนื้อที่ยกไหล่จะล้า ปวดเมื่อยได้ ปวดตั้งแต่ไหล่ บ่า ถึงคอ

           3. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.


ปวดหลัง

ปัญหาปวดหลัง แก้ไขโดย

           1. ขณะนั่งทำคอมพิวเตอร์ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงพอดี เท้าวางบนพื้นได้เต็มเท้า ถ้าสูงเกินไปจนเท้าลอย หรือถ้าต่ำเกินไป ก้นจะจ่อมอยู่บนที่นั่ง ทำให้เมื่อยบริเวณก้นได้  

           2. เวลานั่งต้องเลื่อนตัวให้นั่งชิดพนักพิง ไม่ใช่นั่งอยู่แค่ครึ่งที่นั่งของเก้าอี้  

           3. หลังจะต้องพิงพนักเก้าอี้อยู่ตลอดเวลา โดยพนักพิงทำมุมกับที่นั่ง ไม่เกิน 100 องศา

           4. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.