วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ภัยเทคโนโลยีต่อสุขภาพ

“คอมพิวเตอร์” เทคโนโลยีที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนชีวิตของคนเราดีขึ้นทั้งเรื่องของการเรียน การทำงาน หรือการติดต่อสื่อสารก็จริงแต่ว่าการที่เราเข้าไปคลุกคลีกับเจ้าคอมพิวเตอร์ มากขึ้นเท่าไร สุขภาพร่างกายของเราก็ยิ่งทรุดโทรมเร็วมากขึ้นเท่านั้น หรือที่ทางการแพทย์ เรียกว่า “โรคจากคอมพิวเตอร์”



ทางการแพทย์ระบุว่า ผู้ที่ใช้เวลากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ นั้น มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน.....โรคความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม เป็นโรคที่เกิดแล้วไม่ได้รุนแรง แต่อาการของโรคนั้นจะค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป อาการก็จะค่อยๆ เริ่มจากการปวดคอ ปวดไหล่ ปวดข้อมือและหลัง เนื่องจากนั่งอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน ซึ่งจะมีอาการแทรกซ้อนขึ้นมาคือ อาการชาที่มือซึ่งจะมีอยู่ 3 ระดับ ระดับแรกจะเป็นแล้วหายเมื่อพักสักครู่ก็จะหาย ระดับที่สองคือ เป็นยาวไปถึงตอนกลางคืน ระดับที่สามก็จะเป็นตลอดเวลาพักแล้วก็จะไม่หาย

นักวิจัยชาวอังกฤษได้ทำการศึกษาและพบว่าคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์นั้น เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียอันตรายมากกว่าโถสุขภัณฑ์ถึง 5 เท่า!!! และทำให้ผู้ใช้ท้องเสียโดยไม่รู้ตัว ไม่เพียงเท่านั้นยังมีอีกหลายโรคที่เกิดเพราะคอมพิวเตอร์ เช่น



ท้องร่วงเพราะคีย์บอร์ด : Qwerty Tummy คือโรคที่ตั้งชื่อตามตัวอักษรชุดแรกบนแป้นคีย์บอร์ดที่มีแบคทีเรียเป็นต้นเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ จากการรับประทานอาหารขณะใช้เครื่องคอมพ์ไปด้วย มีการวิจัยพบว่าผู้ใช้คอมพ์ 1 ใน 10 ไม่เคยทำความสะอาดคีย์บอร์ด และ 20% ไม่เคยทำความสะอาดเมาส์ ขณะที่ 50% ไม่เคยทำความสะอาดคีย์บอร์ดภายในเวลาหนึ่งเดือน

ทางแก้ไขคือ ควรทำความสะอาด คีย์บอร์ดเป็นประจำ วิธีการคือ ทำความสะอาดด้วยผ้าเนื้อนุ่มชุบน้ำหมาดๆ อย่าลืมถอดปลั๊กคอมพิวเตอร์ก่อน 

ปวดตา : จากการที่ต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และจอคอมพิวเตอร์ที่สั่นไหว ทำให้เกิดอาการปวดตา และอาจเป็นสาเหตุของโรคต้อหินในอนาคตด้วย โดยเฉพาะในหมู่ผู้ที่สายตาสั้น ควรละสายตาจากจอบ้างเป็นครั้งเป็นคราว กะพริบตาเป็นระยะ เพราะดวงตาต้องการความชุ่มชื้น

ทางแก้ไข เพื่อคลายความเมื่อยล้าให้กับดวงตาด้วยวิธีง่ายๆ คือ นั่งลงในท่าสบายๆ หายใจเข้าออกช้าๆ ถูฝ่ามือทั้งสองให้พออุ่น นำฝ่ามือประคบบนดวงตา โดยหลับตาลง อย่าให้ฝ่ามือแนบชิดกับดวงตามากเกินไป นั่งนิ่งๆ ในท่าดังกล่าว ประมาณ 1 นาที ค่อยๆ เอามือออกช้าๆ จะช่วยให้รู้สึกสบายตาขึ้น

โรคเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับ : ปรับระดับความสูงของเก้าอี้หรือโต๊ะที่วางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ข้อศอกอยู่ในมุม 90-100 องศา วางคีย์บอร์ดให้เหมาะ เวลาใช้คีย์บอร์ดจะได้ไม่ต้องงอมือให้อยู่ในท่าที่ไม่สะดวกสบาย ควรวางข้อมือบนโต๊ะหน้าคีย์บอร์ดถ้าหากจำเป็น ควรพิมพ์คีย์บอร์ดและใช้เมาส์อย่างเบามือ 

ทางแก้ไขคือ ออกกำลังข้อมือและนิ้วบ้าง ควรลุกจากโต๊ะ ทำงานอื่นที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์บ้าง 



ปวดคอและหลัง : สำรวจท่านั่งเวลาทำงานของตัวเอง ควรนั่งตัวตรง ห่างจากจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 18-24 นิ้ว เก้าอี้ที่ดีควรจะมีล้อ สามารถปรับพนักพิงได้ และต้องมีที่วางแขน โต๊ะควรจะมีพื้นที่ว่างสำหรับวางเครื่องมืออื่นๆ ในการทำงาน 

อันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า :เมื่อเราเปิดเครื่องใช้ก็จะมีรังสีแผ่ออกมา จึงไม่ควรนั่งใกล้จอเกินไป โดยเฉพาะเวลาใช้แล็ปท็อปซึ่งทำให้เราต้องนั่งใกล้เครื่องมากกว่าพีซี หากไม่ใช้เครื่องก็ควรปิดโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ในห้องนอน 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น